Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Chemical cleans

HOME

CHEMICAL CLEANSจำหน่ายเคมีภัณฑ์ บริการล

GREASE

GREASE  CODE PRODUCT PROPERTY KG-111 OP

พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces)

Chemical Cooling Tower

ถ้าจะให้พูดถึงสถานที่ ที่ถูกเรียก พื้นที่อับอากาศ ( Confined Spaces )

พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces) สถานที่ทำงานที่มี ทางเข้า-ออก จำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ที่จะทำให้อากาศภายในพื้นที่ อยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของ สารเคมี เป็น พิษ สารไวไฟ รวมทั้ง ระดับออกซิเจนในพื้นที่ไม่เพียงพอ ต่อการทำงานใน พื้นที่อับอากาศ อทิเช่น งาน ทำความสะอาดถังพักน้ำดี ทำความสะอาดบ่อน้ำใต้ดิน ( โรงงานอุตสาหกรรม ) บ่อพักไขมัน ถังหมัก ไซโล ท่อส่งน้ำเสีย ถัง ถ้ำ บ่อพักน้ำเสีย อุโมงค์ งานล้าง เตา Boiler ล้างระบบกรองน้ำ ห้องใต้ดิน ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน การพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็น พื้นที่อับอากาศ มีปัจจัยในการพิจารณาดังนี้

พื้นที่อับอากาศ

ปัจจัยหลักในการพิจารณา พื้นที่อับอากาศ

        1.พื้นที่ซึ่งมีปริมาตรจำกัด ห้องเล็ก แคบ  ระบบถ่ายเทอากาศ ไม่เหมาะสมกับ การทำงานของมนุษย์ ทำให้ แก๊ส หรือไอที่เกิดขึ้นในบริเวณ พื่้นที่อับอากาศ ไม่สามารถระบายออกสู่ ระบบระบายอากาศ ภายนอกได่อย่างสมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ ผู้ปฎิบัติงาน ในพื้นที่อับอากาศ อยู่ในบริเวณนั้น อาจสูดดมเอาแก๊สพิษเข้าไปในร่างกาย หรือมี ออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการหายใจ รวมถึงอาจมีแก๊สที่ติดไฟได้ ในบริเวณพื้นที่อับอากาส (Confined Spaces)

 

         2. ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆ ที่อยู่นอกพื้นอับอากาศ ไม่สามารถเข้าไปสังเกตการณ์ หรือ ช่วยเหลือผู้ที่กำลังปฏิบัติงานใน พื้นที่อับอากาศได้ยาก

 

         3. ช่องเปิด หรือ ทางเข้า-ออก อยู่ไกลจากจุดปฏิบัติงาน มีขนาดเล็กหรือมีจำนวนจำกัด

ข้อควรระวัง และ อันตราย ในการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

ข้อควรระวัง ในการปฏิบัติงานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพพนักงาน และความเสียหายอย่างอื่น เช่น ทรัพย์สินหรืออาจถึงชีวิต พอสรุปพอได้ดังนี้

 

  • 1. การขาดออกซิเจน สาเหตุใหญ่ของการตายในสถานที่อับอากาศ คือขาดออกซิเจนในการหายใจ หมายถึงปริมาณออกซิเจนในสถานที่อับอากาศนั้นน้อยกว่า 19.5 Vol.% หรือมากกว่า 23.5 Vol.% สาเหตุเกิดจากมีการติดไฟ หรือ การระเบิด ไฟจะใช้ออกซิเจนเพื่อการลุกไหม้ การแทนที่ออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน เป็นต้น เกิดการกัดกร่อน หรือ การเกิดสนิม เหล็กใช้ออกซิเจนจากอากาศไปในการเกิดสนิม และ การที่ออกซิเจนถูกใช้ไปในปฏิกิริยาหมัก

 

  • 2. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ สาเหตุสำคัญของการตายในสถานที่อับอากาศอีกสาเหตุหนึ่งคือ การเกิดไฟ และการระเบิด โดยมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินกว่าร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit) และมีฝุ่นที่ทำให้ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้มขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (LEL) สิ่งก่อเหตุคือ สารเคมี สี ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม สารทำละลาย หรือวัตถุจากธรรมชาติ สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ ไอหรือก๊าซที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ในสถานที่อับอากาศสามารถเกิดประกายไฟขึ้นได้ จากการกระทำดังนี้ การเกิดไฟฟ้าช็อต การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ป้องกันการเกิดประกายไฟ การขัด การสูบบุหรี่ การเชื่อมโลหะ

 

  • 3. อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษอื่นตัวอย่างเช่น

  

                – คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbonmonoxide) เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และหากมีปริมาณมากจะเป็นพิษ เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ประมาณ 60% ของปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์เกิดมาจากไอเสียของรถยนต์ ด้วยเหตุนี้เอง แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์จึงมีปริมาณสูงในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น นอกจากนี้ยังมาจากอีกหลายแหล่งกำเนิด เช่น กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยานพาหนะ หรือการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า เป็นต้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางปอดแล้วจะแทรกซึมเข้าไปกับระบบไหลเวียนของเลือด ทำให้การทำงานของต่อมและเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ เมื่อสัมผัสคาร์บอน-มอนนอกไซด์เข้าไปมักจะเกิดผลรุนแรง ส่วนคนปกติทั่วไจะเกิดผลต่างกันขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคลได้แก่ ความสามารถในการมองเห็นความสามารถในการทำงานลดลง ทำให้เฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง การเรียนรู้แย่ และไม่สามารถทำงานสลับซับซ้อนได้

 

                – ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulphide) ไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ละลายได้ในน้ำ แก๊สโซลีน แอลกอฮอล์ เกิดจากการทำปฏิกิริยาของซัลไฟด์ของเหล็กกับกรดซัลฟูริคหรือกรดไฮโดรคลอริค หรือเกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบผลผลิตจากอุตสาหกรรมอื่นๆทเช่น ปิโตรเลียมยางสังเคราะห์ โรงงานน้ำตาล เป็นต้น เนื่องจากไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นแก๊สติดไฟได้ เมื่อติดไฟแล้วจะให้เปลวไฟสีน้ำเงินและเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา การสัมผัสไฮโดรเจน-ซัลไฟด์เพียงเล็กน้อยทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและปอด หากสูดดมเข้าไปมากๆ อาจจะมีผลทำให้เสียชีวิตได้

 

                 – ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogendioxide) เป็นแก๊สสีน้ำตาลอ่อน อาจเป็นส่วนประกอบสำคัญ อย่างหนึ่งของหมอกที่ปกคลุมอยู่ตามเมืองทั่วไป ไนโตรเจนไดออกไซด์เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หากสูดดมเข้าไปจะทำให้ปอดระคายเคือง และภูมิต้านทานการติดเชื้อของระบบหายใจลดลงเช่น ไข้หวัดใหญ่ การสัมผัสสารในระยะสั้นๆ ยังปรากฏผลไม่แน่ชัด แต่หากสัมผัสบ่อยครั้งอาจจะเกิดผลเฉียบพลันได้

 

 

 

 

  • 4. ประสิทธิภาพของการมองเห็นลดลง เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอหรือฝุ่นละออง

 

  • 5. อันตรายทางกายภาพ ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหว ถ้าอยู่ในสถานที่อับอากาศยิ่งจะมีอันตรายมาก ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวจะต้องถูกล็อคใส่กุญแจ และแขวนป้ายก่อนที่จะเข้าไปทำงานในบริเวณนั้น วาวล์หรือท่อ ทำให้เกิดอันตราย ถ้ามีก๊าซ หรือของเหลวไหลผ่านอาจทำให้เกิดการระเบิด จมน้ำ เกิดพิษ หรือ น้ำร้อนลวก ฯลฯ การถูกดูดจมจะเกิดที่ไซโลที่เก็บเมล็ดพืชผล การขึ้นไปเดินบนเมล็ดพืชผลนั้น อาจทำให้ล้มลงและดูดจมลงไปในเมล็ดพืชผลนั้น เกิดการขาดอากาศหายใจ เสียงดัง ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร หรือถึงแม้จะเป็นการชั่วคราวก็จะทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงที่จะบอกทิศทางที่สำคัญ หรือการระวังอันตราย ตกจากที่สูง ในสถานที่อับอากาศ เมื่อมีปริมาณออกซิเจน หรือก๊าซพิษ คนทำงานเกิดอาการขาดออกซิเจน เกิดพิษหรือการแกว่างไปมาของบันไดที่ใช้ปีนทำงานแล้วตกลงสู่เบื้องล่าง ไฟฟ้าดูดขณะทำงานอาจพลาดไปจับส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟรั่วไหลเกิดการดูดช็อต ความร้อน สามารถเกิดได้รวดเร็วในสถานที่อับอากาศ ทำให้เกิดการเสียเหงื่อมากจนถึงขั้นวิงเวียนหน้ามืด (Heat Stroke) ได้ แสงจ้า มีการทำงานในสถานที่อับอากาศโดยมีการเชื่อมโลหะ ถ้ามองดูแสงจ้านั้นด้วยตาเปล่าจะเกิดอันตรายกับดวงตา

 

  • 6. อุณหภูมิสูง

 

  • 7. การหนีออกจากพื้นที่อับอากาศ เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินมีอุปสรรค
บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานพื้นที่อับอากาศ

ผู้อนุญาตในงานอับอากาศ (Approve) คือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายจ้างให้เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติในการออกหนังสือขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนด โดยส่วนมากมักเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่ พื้นที่ อุปกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ อันตรายต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ 

ผู้อนุญาตในการทำงานที่อับอากาศ จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบถึงมาตรการต่างๆ เช่นตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่ หรือความพร้อมในทุกๆส่วน รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานที่จะมาขออนุญาตเข้าทำงาน ว่ามีมาตรการและทุกๆอย่างที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นว่ามีความปลอดภัย

ผู้อนุญาตจะต้องดูให้ละเอียดว่าผู้ปฏิบัติงานที่ขออนุญาต ได้มีการผ่านการอบรมที่อับอากาศครบตามกฎหมายแล้วหรือไม่ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะเข้าไปปฏิบัติมากน้อยเพียงไร ก่อนที่จะทำการอนุญาต ตรวจสอบอุปกรณ์ PPE ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน

– ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง ในการออกหนังสือขออนุญาตการทำงานในที่อับอากาศ ตามที่กฎหมายกำหนด

 

– มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติให้มีการทำงานในที่อับอากาศ

 

– เป็นผู้พิจารณาร่วมกับผู้ขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศในการวางแผนการดำเนินงานและมาตรการป้องกันอันตราย

 

– ต้องทราบลักษณะงานที่เป็นอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผลของการได้รับอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

 

– เป็นผู้เตรียมการในการตัดแยกระบบทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศ

 

– จัดเตรียมให้มีการระบายอากาศ จนมั่นใจได้ว่าอยู่ในระดับที่สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย

 

– ต้องตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน

 

– รับผิดชอบในการสื่อสารไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องภายในพื้นที่โรงงานเพื่อให้รับทราบถึงการปฏิบัติงาน

 

– ก่อนเริ่มปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้มีการเตรียมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน

 

– ตรวจสอบให้มั่นใจว่าในระหว่างการทำงานในที่อับอากาศทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่กำหนดไว้ร่วมกัน

 

– เมื่องานเสร็จสมบูณร์จะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

– เป็นผู้เซ็นต์อนุมัติในการสิ้นสุดการทำงานตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตการทำงาน

  • เป็นผู้ขออนุญาตให้มีการทำงานในที่อับอากาศ
  • จัดทำแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและแผนช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และปิดประกาศหรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
  • ทราบลักษณะอันตรายรวมทั้งผลของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
  • เป็นผู้ตรวจสอบบรรยากาศให้เหมาะสมก่อนที่จะอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ
  • ชี้แจงซักซ้อมหน้าที่รับผิดชอบ วิธีปฏิบัติงาน และวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
  • ตรวจสอบขั้นตอนการทำงานให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน
  • ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่นำมาใช้ต้องมีความเหมาะสมและทำงานได้อย่างถูกต้อง
  • ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและให้ตรวจตราอุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งาน
  • ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ทำงานต้องมีเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตอยู่ในพื้นที่ทำงานเท่านั้น
  • ตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีแผนฉุกเฉินและทีมช่วยเหลือพร้อม ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
  • สั่งให้หยุดการทำงานไว้ชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุที่ก่อให้เกิด อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานจนกว่าเหตุนั้นจะหมดไป และหากจำเป็นอาจขอให้ผู้อนุญาตยกเลิกการอนุญาตนั้น
  • เป็นผู้ขออนุญาตสิ้นสุดการทำงาน และตรวจสอบการทำงานเมื่องานนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว
  • ต้องรู้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ
  • กำหนดรูปแบบการสื่อสารกับผู้ทำงานในที่อับอากาศให้เข้าใจง่ายที่สุด
  • ซักซ้อมความเข้าใจร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานถึงวิธีการสื่อสาร การให้สัญญาณ ทั้งในกรณีเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉิน
  • เป็นผู้มีความชำนาญในการตรวจวัดสภาพอากาศทั้งก่อน ขณะปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
  • เฝ้าระวังสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนของผู้ปฏิบัติงาน
  • ควบคุมให้ผู้ที่ผ่านเข้าไปทำงานเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  • ดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ต้องทราบหลักการและวิธีการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีฉุกเฉิน
  • ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยเหลือมีความพร้อม และเพียงพอรวมทั้งมีความปลอดภัยในการใช้งาน
  • มีทักษะความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตเป็นอย่างดี
  • คอยเฝ้าดูแลทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
  • ต้องทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างเข้าไปทำงาน รวมทั้งการเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ อาการแสดงและผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อมีการสัมผัสอันตรายระหว่างการทำงานในที่อับอากาศ
  • ต้องทราบถึงขีดความสามารถของร่างกายตนเอง ว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่
  • ต้องทำความเข้าใจและซักซ้อมรายะเอียดดังต่อไปนี้อย่างน้อยขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ วิธีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าไปปฏิบัติงาน วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย ถุงมือ เป็นต้น วิธีการสื่อสาร เช่น การใช้สัญญาณการขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่ระบุในใบอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศอย่างเคร่งครัด
  • ต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่กำหนดไว้ตลอดการปฏิบัติงาน
  • ต้องเพิ่มความระมัดระวังเมื่อมีสถานการณ์ที่เป็นผิดปกติเกิดขึ้น
  • ต้องเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อพบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย
  • ฝึกทักษะความชำนาญในการให้สัญญาณกลับไปยังผู้เฝ้าระวัง เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อพบว่าร่างกายมีอาการผิดปกติหรือเมื่อเกิดสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย
  • ทราบวิธีการอพยพออกจากที่อับอากาศอย่างปลอดภัยและอพยพได้ทันทีเมื่อผู้ควบคุมงานหรือผู้ช่วยเหลือให้สัญญาณ
  • แจ้งผลการปฏิบัติงานทุกครั้งเมื่อการปฏิบัติงานนั้นเสร็จสมบูรณ์