สถานที่อับอากาศ (confined spaces) หรือ ที่อับอากาศ หมายความว่า สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน และเป็นสถานที่ที่ไม่ได้ออกแบบให้เข้ามาทำงานอย่างต่อเนื่องการทำความสะอาดหรือทำงานในพื้นที่อับอากาศจึงควรดำเนินการด้วยความระมัดระวังอย่างมาก
การพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็นพื้นที่อับอากาศ มีปัจจัยในการพิจารณาดังนี้
อาจมีอันตรายต่อสุขภาพพนักงานและความเสียหายอย่างอื่น เช่น ทรัพย์สิน หรืออาจถึงชีวิต ซึ่งสรุปได้โดยสังเขปดังนี้
– เกิดจากสภาพพื้นที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่นสถานที่ทำงานคับแคบหรือจำกัด อยู่ในสภาพชื้นแฉะ มีสิ่งของกีดขวางหรือรกรุงรัง
– เกิดจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาสังคม เช่นการล้างทำความสะอาดงานที่ต้องทำแข่งกับเวลา หรือมีระยะเวลาจำกัด การปฏิบัติที่ซ้ำซากจำเจที่ต้องเข้าไปในบ่อพักน้ำ ถังใต้ดิน
– เกิดจากลักษณะท่าทางและอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น ยืนหรือนั่งทำงานที่ระดับสูงต่ไม่เท่ากัน ปวดหลังจากการยกของผิดท่าทาง
– เสียงดังที่เกิดจากการใช้เครื่องมือกลที่ใช้ในการทำงานเช่นเครื่องเจียร์ เครื่องตัด เครื่องเจาะกระแทก เป็นต้น
– การสั่นสะเทือน เสียงและความสั่นสะเทือนมักจะมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน จึงมีความเกี่ยวข้องกันอยู่เสมอการสั่นสะเทือนเกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องมือกลในการถอดหรือประกอบอุปกรณ์ที่เป็นตัวยึด เช่นฝาแมนโฮลด์ ซึ่งผลกระทบจากการสั่นสะเทือนจะทำอันตรายที่บริเวณอวัยวะที่สัมผัสกับการสั่นสะเทือน อาจเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดตีบ อาจส่งผลให้ปลายประสาทอักเสบและเสื่อมสภาพ หรือเกิดความผิดปกติกับกระดูกข้อมือและกล้ามเนื้อหดลีบ
– การติดเชื้อโรคต่างๆ เนื่องจากในที่อับอากาศที่มีการจัดเก็บวัสดุทางการเกษตร ที่มีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ชนิดต่างๆอยู่ด้วย เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
– การถูกสัตว์มีพิษกัดในขณะล้างทำความสะอาด ซึ่งสัตว์มีพิษอาจจะเข้าไปหลบอาศัยอยู่ เมื่อมีผู้ที่เข้าไปทำงานในที่อับอากาศ อาจถูกสัตว์มีพิษกัดต่อยได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึง พ.ศ. ๒๕๖๐ พบว่า มีการเกิดเหตุการณ์บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการ ดังนี้
ลำดับ | วันที่เกิดเหตุ | สาเหตุ/ลักษณะการเกิดเหตุ | จำนวน | |
เจ็บป่วย | เสียชีวิต | |||
๑ | ๑๓ ก.พ. ๒๕๔๖ รง.ผลิตเม็ดพลาสติก จ.ระยอง |
คนงานเข้าไปตรวจสอบความผิดปกติถังผสมสารเคมีความลึก ๓ ม. สูดดมสารเคมีและขาดอากาศหายใจ | ๑ | ๑ |
๒ | ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๗ รง.ฟอกหนัง จ.สมุทรปราการ |
คนงานลงไปทำความสะอาดบ่อน้ำเสีย มีน้ำเสียตกค้าง ประมาณ ๓๐ ซม./สูดดมก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ | ๓ | ๒ |
๓ | ๑๒ เม.ย. ๒๕๔๗ รง.ผลิตเส้นใย จ.อ่างทอง |
คนงานลงไปล้างถังตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย และสูดดมสารพิษ | ๑ | ๒ |
๔ | ๒๖ ต.ค. ๒๕๔๗ โรงสีข้าว จ.ขอนแก่น |
คนงานลงไปทำความสะอาดในหลุมกระพ้อข้าวเปลือก ปากหลุมกว้าง ๐.๕ม.x ๑ม. ลึก ๓.๕ ม.และไม่มีการระบายอากาศที่ดีพอ ทำให้คนงานขาดอากาศหายใจ | ๑ | ๗ |
๕ | ๙ เม.ย. ๒๕๔๘ รง.ผลิตคาร์บอนแบลค จ.อ่างทอง |
คนงานลงไปซ่อมหม้อน้ำ ตรวจพบออกซิเจนปริมาณน้อยทำให้คนงานขาดอากาศหายใจ | ๔ | – |
๖ | ๑๖ มิ.ย. ๒๕๔๙ บ่อน้ำ บริเวณทุ่งนา จ.กำแพงเพชร |
เกษตรกรลงไปตรวจซ่อมปั๊มสูบน้ำในก้นบ่อที่มีความลึก ๑๐ ม. แล้วเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ ตรวจพบออกซิเจนก้นบ่อ ๕.๙% | – | ๓ |
๗ | ๒๙ ก.ค. ๒๕๔๙ รง.อาหารสัตว์(ไซโลข้าวโพด) จ.นครราชสีมา |
คนงานลงไปซ่อมท่อสะพานและอัดจารบี ในหลุมลึกของไซโลที่มีความลึกประมาณ ๓ ม. และขาดอากาศหายใจ | – | ๔ |
๘ | ๒๒ ก.ค. ๒๕๔๙โรงผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ของฟาร์มสุกร จ.ราชบุรี | คนงานลงไปติดตั้งท่อ PVC ในบ่อกว้าง ๓ม. ลึก๔ ม.เพื่อสูบน้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียเข้าสู่บ่อหมักก๊าซชีวภาพและสูดดมไฮโดรเจนซัลไฟด์ | – | ๕ |
๙ | ๙ มี.ค. ๒๕๕๕ รง.ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพของโรงงาน น้ำมันปาล์ม จ.กระบี่ |
คนงานลงไปล้างบ่อพัก(sump)ของระบบฟอกก๊าซชีวภาพ(biological scrubber) ปากบ่อกว้าง ๓ม.x ๖ม. ลึก ๒.๙ ม.และมีตะกอนก้นบ่อ ๒๐-๓๐ ซม. และสูดดมไฮโดรเจนซัลไฟด์ | ๒ | ๓ |
๑๐ | ๒๗ พ.ค. ๒๕๕๕ โรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ของฟาร์มสุกร จ.ราชบุรี |
คนงานลงไปต่อท่อก๊าซชีวภาพที่ฝังในดิน โดยขุดบ่อ กว้าง๓ม. x ๔ ม.ลึก ๓ ม. แล้วถอดหน้าแปลนทำให้ก๊าซชีวภาพรั่ว คนงานสูดดม | – | ๕ |
๑๑ | ๑๐ มิ.ย.๒๕๕๖ โรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวมวล จ.ตรัง | หัวหน้าวิศวกรชาวนิวซีแลนด์และลูกน้องคนไทยขึ้นไปช่วยชีวิตลูกน้องที่หมดสติ บนปล่องระบายอากาศ สูงประมาณ ๘ ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ ม. ขาดอากาศหายใจ | ๒ | ๒ |
๑๒ | ๒๖ มี.ค. ๒๕๕๗บ่อน้ำเสียเทศบาลนครภูเก็ต | คนงานบริษัทรับเหมาดูแลระบบบำบัดน้ำเสียลงไปล้างบ่อพักน้ำเสีย ขนาดกว้าง ๘๐ ซม. x ๑ ม. ลึก ๓ ม. สูดดมก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ | – | ๔ |
๑๓ | ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๗ บ้านพัก จ.นนทบุรี | คนงานขุดบ่อน้ำบาดาล เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ ม. ลึก ๔ ม. ขาดอากาศหายใจ | – | ๓ |
๑๔ | ๗ เม.ย. ๒๕๕๗ บ้านพักให้เช่า จ.ระยอง | คนงานลงไปล้างบ่อเก็บน้ำอุปโภค บริโภค ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ ม. ลึก ๖ ม. โดยเปิดฝาท่อไว้ คนงานขาดอากาศหายใจ | – | ๔ |
๑๕ | ๒๓ มิ.ย.๒๕๖๐ กม.๒๐เขตบางนา กทม. | นักศึกษาสัตวแพทย์ตกบ่อบำบัดน้ำเสีย (Daft) ขนาดบ่อกว้าง ๓.๐ ม. ยาว ๔.๐ม. ลึก ๒.๕ ม.ในโรงงานชำแหละสัตว์ปีก สูดดมก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ | ๕ | |
๑๖ | ๑๔ กค. ๒๕๖๐ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ อ.บางเลน จ.นครปฐม | เกิดเหตุบริเวณไซโลเก็บอาหารสัตว์ ของโรงงานผลิตอาหารสัตว์โดยคนงานลงไปซ่อมถังบรรจุไซโลผสมข้าวโพดที่ชำรุดรั่ว เข้าไปทาง แมนโฮลเป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดพอคนลอดได้ ไซโลมีขนาดความกว้าง๑ ม. สูงประมาณ ๑๕ ม. คนงาน๒คนได้นำเครื่องเชื่อมไฟฟ้าโดยใช้สายสลิงโรยตัวเข้าไปข้างในเพื่อเชื่อมอุดรอยรั่ว ส่วนอีกคนอยู่ที่ปากแมนโฮลเพื่อคอยดูดควัน เวลาผ่านไป ๕ นาที เกิดเสียงระเบิดและไฟพุ่งออกที่ช่องแมนโฮล คนงานตกลงไปด้านล่าง เสียชีวิต | ๑ | ๒ |
๑๗ | ๒ ๐ กย.๒๕๖๐โรงงานไซโลข้าวโพด อ.เชียงแสน จ.เชียงราย | เกิดเหตบริเวณบ่อดักน้ำฝนมีฝาเหล็กปิดกว้าง ๓ ม. ยาว ๔ ม. ลึก ๓ ม. ทั้ง๓คนลงไปเช็คท่อน้ำในเตาเผาซึ่งอยู่ใกล้เตาเผาคาดสูดดมก๊าซพิษ | – | ๓ |
ควรมีการสำรวจสถานที่ทำงานว่าสถานใดบ้างเป็นสถานที่อับอากาศและติดป้ายเตือนอันตราย
ต้องมีขั้นตอนการขออนุญาตเข้าไปทำงานใน สถานที่อับอากาศ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยขั้นตอนที่กำหนดขึ้นนี้ สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เช่น วางแผนปฏิบัติงาน และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และอบรมสอนงาน ควบคุมดูแลให้ ลูกจ้างใช้ตรวจตรา เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงาน
จัดให้มีผู้ช่วยเหลือซึ่งผ่านการอบรมช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอุปกรณ์การช่วยเหลือเฝ้าอยู่ปากทางเข้าบ่อหรือถังพักน้ำตลอดเวลาทำงาน เช่น รอก เชือก เข็มขัด อุปกรณ์ปฐมพยาบาล อุปกรณ์ดับเพลิง
ไม่อนุญาตให้คนงานเข้าไปทำงานก่อนที่จะมีการตรวจวัดปริมาณออกซิเจน,ก๊าซพิษและการระบายอากาศ และต้องตัดการทำงานของเครื่องจักรระบบไฟฟ้า การป้อนวัสดุ
ต้องมีเครื่องตรวจวัดอากาศ,ก๊าซพิษที่สถานที่ปฏิบัติตลอดเวลาที่ทำงานอยู่และผู้ทำหน้าที่อนุญาตควรทำการตรวจวัดปริมาณระดับออกซิเจนในบ่อพักน้ำหรือบ่อใต้ดินให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย (ปริมาณออกซิเจน ๑๙.๕ – ๒๓.๕%หรือสารเคมีที่ติดไฟได้ในปริมาณเข้มข้นกว่าร้อยละ 20 ของความเข้มข้นต่ำสุด ที่จะติดไฟหรือระเบิดได้) ตามที่กฎหมายกำหนดก่อนเริ่มงาน และต้องมีพัดลมระบายอากาศแบบไม่ก่อให้เกิดประกายไฟเตรียมพร้อมตลอดระยะเวลาทำงาน
ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่นหากสถานที่ทำงานมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าค่าที่กฎหมายกำหนดต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ(SCBA หรือ Air Line)และหากต้องสัมผัสเสียงดัง ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลชนิดลดเสียงขณะปฏิบัติงานและหากต้องทำความสะอาดในที่อับอากาศที่ต่างระดับต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก เช่นสายรัดลำตัว ต่อกับเชือกช่วยชีวิต
อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในการล้างทำความสะอาด ต้องเป็นชนิดที่สามารถป้องกัน ความร้อน ฝุ่น การระเบิด การลุกไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องจัดให้มีการเดินสายไฟฟ้าในสถานที่อับอากาศด้วยวิธีที่ปลอดภัยต้องมีแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายไฟฟ้า สายดิน และการติดป้ายแสดงหลังจากผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่นำไปใช้งานในConfined Space แผงควบคุมวงจรหลักหรือวงจรย่อย ผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถเข้าไปตัดวงจรได้ทันทีกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
ควรจัดให้มีอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างปฏิบัติงาน หรือ ล้างทำความสะอาด
อุปกรณ์ประเภทบันได ต้องมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการเข้าและออกของผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานและต้องเป็นชนิดที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
กำหนดข้อห้าม และควบคุมต่างๆ เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามก่อไฟ ห้ามคนไม่เกี่ยวข้องเข้าไป ถ้าเป็นช่องโพรง ต้องปิดกั้นไม่ให้คนตกลงไป และจัดให้มีป้ายแจ้งข้อความ “บริเวณอันตรายห้ามเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ใน บริเวณสถานที่อับอากาศ ซึ่งมองเห็นชัดอยู่ตลอดเวลา
ควรมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work instruction) ที่ปลอดภัย และต้องมีการอบรมคนงานและให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก่อนเข้าทำงานในพื้นที่หรือจัดหาผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการปฏิบัตงาน
FB Massenger : https://m.me/108615754850890
https://www.facebook.com/VIIChemical-Cleaning-108615754850890/
เอกสารอ้างอิง